พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก

พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก


บทความเชิงวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิวัฒนาการทางธรรมชาติและระบบนิเวศ (Nature and Ecology Evolution) ระบุว่าสารก่อมลพิษ PCBs และ PBDEs ที่ถูกพบปะปนอยู่ในระบบนิเวศใต้ทะเลลึกในปริมาณเข้มข้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจ
สารเคมีเหล่านี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่าเป็นพิษและสะสมในสภาพแวดล้อม
ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร


สารก่อมลพิษที่พบในตัวแอมฟิพอด รวมถึง โพลีคลอรีเนต ไบเฟนิล(PCBs)และโพลีโบรมิเนต ไดเฟนิล เอเธอร์ (PBDEs) ซึ่งใช้ในการผลิตฉนวนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์วัสดุทนไฟ
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการผลิต PCB เมื่อปี 1979 และในปี 2001 ก็มีการลงนามในอนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants)
แต่ปริมาณการผลิตสาร PCBs ทั่วโลก จากช่วงปี 1930 จนถึงที่ถูกสั่งห้ามในปี 1970 คาดว่าจะมีถึง 1.3 ล้านตัน ซึ่งสารที่ถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมทั้งจากอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม และการไหลซึมจากกองขยะ สามารถทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทำให้ยังคงตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม และในผลการศึกษาระบุว่า ยากที่จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนของสารที่พบบริเวณพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้วิธีวัดค่าและเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนที่ต่างกันในผลศึกษาก่อนหน้านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

YouTube บน Android กำลังจะเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตน โดยแอพฯ ยอดฮิตอย่าง YouTube เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บน Android และ Google Chrome เป็นที่เรียบ...