วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

YouTube บน Android กำลังจะเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตน

โดยแอพฯ ยอดฮิตอย่าง YouTube เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บน Android และ Google Chrome เป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งฟีเจอร์นี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตนได้ซึ่งจะเข้ามาทำให้การดูวีดีโอบนแอพฯ ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณนั้นไม่มีประวัติการรับชมและประวัติการค้นหาใดๆ อยู่ตามที่ได้ระบุเอาไว้ใน 9to5Google นั่นเอง
แล้วถ้าคุณอยากจะเริ่มใช้โหมดใหม่นี้ก็สามารถเข้าไปกดเปิดได้ที่ส่วนของ Account ในแอพฯ และจัดการกดปุ่ม Turn on Incognito mode โดยต้องอัพเดทแอพ YouTube เสียก่อนปุ่มนี้ถึงจะปรากฏ เพียงเท่านี้ก็สามารถท่อง YouTube แบบไร้ตัวตนได้แล้ว

YouTube บน Android กำลังจะเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตน

จากนั้นเมื่อคุณเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตนเรียบร้อยแล้วนั้นทางแอพฯ ก็จะมีแถบแจ้งเตือนอยู่ที่ด้านล่างของหน้าจอเอาไว้คอยเตือนผู้ใช้อยู่เสมอและโหมดนี้ยังแทนที่รูปไอคอนของคุณด้วยรูปนักสืบของทาง Google อีกด้วย
เช่นเดียวกับการใช้ Incognito mode บนเบราว์เซอร์ Chrome ที่กิจกรรมและการค้นหาทั้งหมดของคุณจะถูกลบไปเมื่อคุณออกจากแอพฯ
YouTube บน Android กำลังจะเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตน

แต่ถ้าคุณไม่ได้ใช้งานโหมดนี้สักพักมันก็จะทำงานปิดการทำงานด้วยตัวของมันเองและที่สำคัญทาง Google ยังเตือนเอาไว้ด้วยว่ากิจกรรมต่างๆ ของคุณนั้นอาจจะยังปรากฏให้นายจ้าง โรงเรียน หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณเห็นกันอยู่ด้วย
และสุดท้ายก่อนเข้าไปลองใช้งานกันคุณควรรู้เพิ่มเติมเอาไว้อีกนิดหน่อยว่าถ้าคุณใช้แอพฯ ด้วยโหมดไม่ระบุตัวตนนั้นคุณจะสามารถเข้าถึงได้แค่ในส่วนของหน้า Home และ Trending เท่านั้นในส่วนของ Subscriptions, Inbox, และ Library นั้นจะไม่สามารถใช้งานได้รวมทั้งยังไม่สามารถบันทึกวีดีโอใดๆ ลงใน Playlist ของคุณได้อีกด้วย

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นักวิจัยพัฒนา ผ้าพันแผลอัจฉริยะ จ่ายยาเองได้ และติดตามอาการได้แบบเรียลไทม์

นักวิจัยพัฒนา ผ้าพันแผลอัจฉริยะ จ่ายยาเองได้ และติดตามอาการได้แบบเรียลไทม์

เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลก กำลังทำให้ความอัจฉริยะแพร่กระจายไปสู่ทุกสิ่ง เรามีสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี สมาร์ทโฮม ฯลฯ และตอนนี้เราก็กำลังจะมี "Smart bandage หรือ ผ้าพันแผลอัจฉริยะ"
บทความล่าสุดในวารสาร Small ทีมวิจัยจาก Tufts University นำโดย Pooria Mostafalu กำลังพัฒนาวิธีการรักษาแผลเรื้อรังด้วยสิ่งนี้ Smart bandage ของพวกเขา มีความสามารถในการตรวจสอบอุณหภูมิ และค่า pH (ความเป็นกรด - ด่าง) ของแผลได้

นักวิจัยพัฒนา ผ้าพันแผลอัจฉริยะ จ่ายยาเองได้ และติดตามอาการได้แบบเรียลไทม์

หากมีการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงใดๆ มันจะสามารถวิเคราะห์ปัญหา และจ่ายยาได้ ในส่วนนี้ แพทย์จะสามารถตั้งโปรแกรมการรักษาเอาไว้ได้ นอกจากนี้ มันยังสามารถอัพเดทอาการของแผลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านบลูทูธ
Smart bandage นั้นมีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของบาดแผลได้ดี ทั้งยังทำการรักษาได้แบบเรียลไทม์ มันจะมีประโยชน์อย่างมากในการรักษาบาดแผลเรื้องรัง และป้องกันการติดเชื้อจนถึงขั้นที่ต้องตัดแขน-ขา ของผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม Smart bandage ยังต้องมีการพัฒนา และทดสอบการใช้งานต่อไปก่อนที่จะถูกนำมาใช้งานจริงๆ แต่ไอเดียที่สร้างสรรค์นี้จะต้องสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับมนุษย์เราอย่างแน่นอน

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561


ศูนย์การค้าในจีนทำช่องทางเดินพิเศษสำหรับคนติดมือถือ ให้เดินก้มหน้าเล่นได้อย่างสบายใจ


ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทสตาร์ทอัพอยู่มากมาย ตัดสินใจทำช่องทางเดินพิเศษสำหรับคนที่ชอบเล่นมือถือขณะเดินอยู่บนทางเท้า หลังจากทางการอนุญาตให้ทำทางเดินดังกล่าวตรงทางเข้าศูนย์การค้าบนถนน Yan Da ได้
Shaanxi Online News สื่อท้องถิ่นได้รายงานว่า โฆษกของศูนย์การค้าดังกล่าว ซึ่งร้องเรียนขอทำช่องทางเดินพิเศษนี้มานานกว่า 1 เดือน ระบุว่า ชอบมีรถขึ้นมาบนฟุตบาทอยู่บ่อยๆ ทั้งที่มีคนเดินอยู่ขวักไขว่ 
ทางเดินหรือเลนดังกล่าวถูกทาด้วยสีแดง, น้ำเงิน และสีเขียว กว้าง 1 เมตร ยาว 100 เมตร  โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโทรศัพท์มือถือ และมีข้อความเตือนคนเดินเท้าว่า "เฉพาะคนที่ติดสมาร์ทโฟนเท่านั้น" ขณะที่ส่วนอื่นๆ บนฟุตบาทก็ห้ามคนเดินเล่นมือถือด้วยเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในประเทศจีนที่มีการทำช่องทางเดินพิเศษสำหรับสังคมก้มหน้า เพราะเมื่อปี 2014 เมืองฉงชิ่ง ก็เคยออกแบบ  "Text-walking lane" ทางเดินความยาว 30 เมตร สำหรับคนที่ใช้มือถือขณะที่เดินบนทางเท้ามาแล้ว 
ส่วนที่ประเทศอื่นๆ อย่างเมืองแอนต์เวิร์ป (Antwerp) ในเบลเยียมก็นำไอเดียคล้ายๆ กันนี้มาปรับใช้เช่นกัน ขณะที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ทำป้ายเตือนเป็นรูปคนมองโทรศัพท์ในมือขณะที่กำลังเดินอยู่ พร้อมข้อความว่า "เดินอย่างปลอดภัย"
ทั้งนี้ หลังจากมีทางเดินพิเศษที่ซีอาน ผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นต่างมีความเห็นต่างกันไป บ้างก็ชื่นชมว่าการทำแบบนี้จะช่วยให้คนขับรถได้ระมัดระวังคนที่เดินเล่นมือถือ บ้างก็มองว่า เลนดังกล่าวทำให้คนรู้สึกว่าปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็อาจจะส่งผลให้มีคนใช้มือถือขณะเดินกันมากขึ้น บ้างก็ไล่ให้พวกติดมือถือไปเดินบนทางคนตาบอด เพราะยังไงพวกนั้นก็ไม่เห็นสิ่งรอบตัวอยู่แล้ว

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปัจจุบันหลายคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่ารังสีจากโทรศัพท์อาจมีผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างไรบ้าง
บางคนอาจเคยได้ยินและสงสัยกับคำถามเกี่ยวกับอันตรายจากโทรศัพท์มือถือว่า รังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากโทรศัพท์นั้นมีอันตรายจริงหรือไม่ หรือ การใช้งานต่อเนื่องนาน ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกได้หรือเปล่า ?
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามไขข้อข้องใจเหล่านี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่นับถึงวันนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่หาข้อสรุปได้แน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้แน่ ๆ คือการใช้งานโทรศัพท์นั้นทำให้เกิดคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นรูปแบบของการแผ่รังสีชนิดไม่ก่อไอออน (Non-ionising radiation)
การแผ่รังสีเช่นนี้ มีความแรงน้อยกว่าการแผ่รังสีชนิดก่อไอออน (Ionising radiation) ซึ่งเกิดจาก เอ็กซ์เรย์ รังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีแกมมา ที่สามารถทำให้โครงสร้างดีเอ็นเอของเปลี่ยนแปลงและสร้างความเสียหายกับเซลส์มนุษย์ได้
คลื่นความถี่วิทยุ ชนิดเดียวกับที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือนั้น มีอยู่รอบตัวเรา เช่น คลื่นวิทยุเอฟเอ็ม คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นความร้อน และสเปกตรัมมองเห็นได้ ซึ่งการแผ่รังสีชนิดไม่ก่อไอออนนี้ไม่มีพลังงานพอที่จะทำให้ดีเอ็นเอของเราเสียหายหรือก่อให้เกิดมะเร็งได้โดยตรง
แต่จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา มีความกังวลอย่างจริงจังว่า โทรศัพท์มือถืออาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดเนื้องอกในสมอง รวมถึงบริเวณศรีษะและลำคอได้
ปกติแล้ว คลื่นความถี่วิทยุในระดับสูง สามารถทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายร้อนขึ้นได้ ซึ่งนั่นเป็นวิธีทำงานของเตาไมโครเวฟ แต่ ถึงแม้ระดับของพลังงานที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือจะน้อยกว่านั้นมาก สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่ามันยังไม่แน่ชัดว่าคลื่นจากโทรศัพท์มีผลอย่างไรกับมนุษย์ รวมทั้งแนะนำให้ลดการสัมผัสเพื่อป้องกันไว้ก่อน
โทรศัพท์ที่แผ่รังสีมาก-น้อยที่สุด
เพื่อวัดความเสี่ยงทางสุขภาพจากรังสี นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นหน่วย SAR (Specific Absorption Rate) หรือ อัตราการดูดกลืนพลังงานจําเพาะ เป็นหน่วยวัดปริมาณพลังจากคลื่นความถี่วิทยุ ที่คนหนึ่งคนซึมซับเข้าสู่ร่างกายขณะใช้โทรศัพท์มือถือ ในหน่วย วัตต์/กิโลกรัม
ระดับ SAR ของมือถือแต่ละรุ่นนั้นแตกต่างกันไป และผู้ผลิตทุกรายจำเป็นต้องรายงานค่า SAR สูงสุดของสินค้าทุกรุ่น ข้อมูลเหล่านี้มีอยู่บนเว็บไซต์และคู่มือที่มาพร้อมกับโทรศัพท์ แต่ผู้บริโภคน้อยคนที่จะอ่านมัน
หน่วยงานรัฐของเยอรมนี ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการป้องกันภัยจากรังสี ได้สร้างฐานข้อมูลที่รวบรวมปริมาณรังสีของโทรศัพท์ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เพื่อดูว่าโทรศัพท์รุ่นใดแผ่รังสีมากที่สุด
www.bbc.com

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561



พรบ.คอมพิวเตอร์



1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้


YouTube บน Android กำลังจะเข้าสู่โหมดไม่ระบุตัวตน โดยแอพฯ ยอดฮิตอย่าง YouTube เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บน Android และ Google Chrome เป็นที่เรียบ...